ลงทะเบียน
CHAT
WITH US

อายุ 18 หรือ 80 ก็อาจสมองเสื่อมได้ ขึ้นอยู่กับการปรับ Lifestyle

อายุ 18 หรือ 80 ก็อาจสมองเสื่อมได้ ขึ้นอยู่กับการปรับ Lifestyle

“แม้อายุ 18 ปี หากคุณมี lifestyle ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมเพียง 1 ปัจจัย จะส่งผลกระทบให้อายุสมองแก่เร็วขึ้นถึง 3 ปี”

นี่คือข้อมูลส่วนหนึ่งจากงานวิจัยของสถาบันวิจัย Rotman โดย Baycrest ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุและศูนย์วิจัยด้านการแพทย์เกี่ยวกับสุขภาพสมองระดับโลก กับงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของ lifestyle ที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมตลอดช่วงชีวิต โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 89 ปี ซึ่งแตกต่างกับงานวิจัยทั่วไปที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มกลางคนจนถึงผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่

โดยผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ข้อสรุปว่า..ไม่ว่าคุณจะมีอายุ 18 หรือ 80 ปี ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมจาก lifestyle อาจมีความสำคัญมากกว่าอายุ

Lifestyle กับภาวะสมองเสื่อมเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 22,117 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 89 ปี โดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทำแบบประเมินสุขภาพสมอง (Cogniciti Brain Health Assessment) ที่แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ แบบสอบถามพื้นฐานทั่วไป และแบบทดสอบความจำและความสนใจ 4 แบบทดสอบ

Content#01 Infographic For Website

โดยทำการประเมินร่วมกับปัจจัยเสี่ยงทั้ง 8 ข้อ ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม ได้แก่

  1. การสูญเสียการได้ยิน
  2. การได้รับการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนทางสมอง
  3. การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือมีการใช้สารเสพติดบางชนิด
  4. โรคความดันสูง
  5. การสูบบุหรี่ (ระหว่างเข้าร่วมการวิจัยหรือในช่วงเวลาสี่ปีก่อนเข้าร่วมการวิจัย )
  6. โรคเบาหวาน
  7. โรคซึมเศร้า
  8. ระดับการศึกษา

ผลการศึกษาได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หากมีปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมเพียง 1 ปัจจัยจาก 8 ข้อนี้จะทำให้ความสามารถในการจดจำลดลงและมีอายุสมองแก่ขึ้นถึง 3 ปี ไม่เพียงเท่านั้น การมีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นยิ่งจะทำให้อายุสมองแก่ขึ้นแบบ 3 เท่าต่อปัจจัย

ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ หากคุณเข้าข่ายความเสี่ยงสมองเสื่อม 2 ใน 8 ปัจจัย แปลว่าอายุสมองจะแก่ขึ้นถึง 6 ปี หรือถ้าเข้าข่าย 6 ใน 8 ปัจจัย แปลว่าอายุสมองจะแก่ขึ้นถึง 18 ปีเลยทีเดียว และผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงแปรผันตามอายุที่มากขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนของปัจจัยเสี่ยงที่มีในแต่ละบุคคล ในทางกลับกันคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมแม้แต่ข้อเดียวจะมีอายุสมองที่ใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับคนที่มีอายุน้อยกว่าพวกเขาถึง 10-20 ปีเลยทีเดียว

เริ่มปรับพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้อย่างไรเพื่อป้องกันการเกิดสมองเสื่อม

Dr. LaPlume หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ของ Baycrest กล่าวว่า “จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คุณมีความสามารถที่จะลดปัจจัยเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง และต่อไปไม่ว่าคุณจะมีอายุ 18 หรือ 90 ปี คุณก็จะสามารถดูแลสมองและความสามารถในการเรียนรู้จดจำของคุณให้มีสุขภาพที่ดีและยังช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลและกลัวกับอายุที่จะเพิ่มขึ้นได้”

นอกจากการลด 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการถดถอยของสมองแล้ว คุณยังสามารถสร้าง lifestyle ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสมองและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง การออกกำลังกายที่เหมาะกับช่วงวัย การทำกิจกรรมที่ให้สมองได้ฝึกคิด ฝึกความจำอย่างสม่ำเสมอ การเข้าสังคมพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อย ๆ การร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม เป็นต้น

นอกจากนั้นการให้สมองผ่อนคลายด้วยการพักผ่อนที่เพียงพอ การนอนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยลดความล้าของสมอง ทำให้สมองผ่อนคลายและมีประสิทธิภาพเต็มที่พร้อมรับเรื่องราวใหม่ ๆ

Content#02 Image For Website

The Aspen Tree The Forestias เราร่วมมือกับ Baycrest พร้อมดูแลและช่วยออกแบบ lifestyle เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

 ที่ The Aspen Tree เราสร้างสังคมวัยอิสระ จัดกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพที่เข้ากับ lifestyle และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นพื้นที่ฟื้นฟูทั้งด้านสุขภาพทางกายและทางใจให้กับผู้สูงวัย โดยร่วมมือกับ Baycrest ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่โดดเด่นด้านการวิจัยในเรื่องของการดูแลสมองและความจำ

เรามีโปรแกรมกิจกรรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่ไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพดี แต่คำนึงถึงสุขภาพสมองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม กิจกรรมถูกออกแบบจากทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลก โดยให้ความสำคัญต่อสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • Physical Wellness - คงสภาพร่างกายให้แข็งแรง มีความยืดหยุ่น
  • Cognitive Wellness - เพิ่มทักษะการทำงานของสมองเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม
  • Emotional Wellness - เสริมสร้างพลังชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจ
  • Social Wellness - สร้างสังคมอุดมความสุขรอบตัว พร้อมบ้านที่อำนวยความมสะดวกผู้สูงวัยและสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ

ให้คุณพร้อมเริ่มต้นชีวิตบทใหม่อย่างไร้กังวลในช่วงเวลาอิสระของชีวิต ร่วมค้นหาคำตอบของชีวิตที่สมบูรณ์แบบไปด้วยกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://mqdc.com/aspentree

โทร. 1265

LINE OA : @TheAspenTree หรือ คลิก https://mqdc.link/3K4f0dM

 

Source:
Baycrest

Journal reference:

LaPlume A. and et.al. Alzheimer's & Dementia: Diagnosis, Assessment & Disease Monitoring, 2022. DOI: 10.1002/dad2.12337

PUBLISHED : 1 ปีที่แล้ว

facebook twitter line

RELATE ARTICLES

MQDC
การยืนยัน